หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบล วังหลวง ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
อบต.วังหลวง
 
 
เกี่ยวกับตำบล อาณาเขตติดต่อ สภาพทั่วไป ข้อมูลประชากร
 
 
ตำบลวังหลวง แต่เดิมขึ้นกับอำเภอสอง จังหวัดแพร่ และได้แยกมาขึ้นกับอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ เมื่อ พ.ศ. 2528 จนถึง พ.ศ. 2533 ได้มีประกาศของกระทรวงมหาดไทย เรื่องการแบ่งเขตท้องที่อำเภอร้องกวาง ออกเป็น กิ่งอำเภอหนองม่วงไข่ จนถึง พ.ศ. 2538 ได้มีพระราชกฤษฎีกา ตั้งกิ่งอำเภอหนองม่วงไข่ เป็นอำเภอหนองม่วงไข่ ปัจจุบันตำบลวังหลวง ขึ้นกับอำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่องค์การบริหารส่วนตำบลวังหลวง เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตั้งขึ้น ตามนโยบายการกระจายอำนาจการปกครอง สู่หน่วยการปกครองขั้นพื้นฐานของรัฐบาล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 โดยได้รับการประกาศจัดตั้งยกฐานะจากสภาตำบลวังหลวง ขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลวังหลวงเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540
 
 
บ้านวังหลวง ต.วังหลวง อ.หนองม่วงไข่ จ.แพร่ ที่ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำยมซีกซ้าย มีจำนวน 5 หมู่บ้าน บ้านวังหลวงอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ ระยะห่างจาก ที่ทำการอำเภอหนองม่วงไข่ ประมาณ 3 กม. เนื้อที่ประมาณ 13.50 ตารางกิโลเมตร
 
 
 
 
 
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลทุ่งแค้ว อำเภอหนองม่วงไข่ , อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
  ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลน้ำรัด อำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่  
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลหัวเมือง อำเภอสอง จังหวัดแพร่
  ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลเวียงต้า อำเภอลอง จังหวัดแพร่  
 
 

 
 
 
ลักษณะพื้นที่ของตำบลวังหลวง ส่วนใหญ่เป็นที่ราบใกล้ภูเขามีระดับความสูงของพื้นที่ประมาณ 160 – 300 เมตร จากระดับน้ำทะเล พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้โดยมีไม้สัก ไม้เต็งไร้รัง (บริเวณแพะเปียง) และสวนป่าแม่แฮต บริเวณบางแห่งใช้ปลูกพืชไร่และพืชสวน บริเวณที่ราบ เป็นแนวขนานไปกับลำน้ำแม่ยม ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้

บริเวณสันดินริมน้ำซึ่งเป็นบริเวณกว้าง ๆ เป็นดินทราย (ชาวบ้านเรียกว่า “ปง”) ซึ่งเป็นบริเวณที่เป็นลำน้ำเก่าที่แม่น้ำได้เปลี่ยนทิศทางไหลไปแล้ว ดินที่เกิดใน บริเวณนี้เป็นดินที่เกิดจากตะกอนลำน้ำพัดมาทับถมกัน ทุกปี (บริเวณนี้ชาวบ้านเรียกกันว่า “ปงใต้ และ หนองป้าต่อม”) เหมาะสำหรับปลูกข้าวโพด ถั่วลิสง ปลูกพืชสวนลำไย เป็น แหล่งเศรษฐกิจของบ้านวังหลวง

บริเวณที่ราบลุ่มอยู่ต่ำถัดลงมาจากบริเวณภูเขาด้านตะวันตกของหมู่บ้าน เช่น ดอยผาบ่อง ถ้าเป็นเนินเขาเตี้ย ๆ เรียกว่า “ม่อน” เช่น ม่อนน้ำบ่อ (ชาวบ้านเรียกว่า “ดอย”) เป็นที่รู้จักของชาวบ้านเพราะเป็นบริเวณที่เกิดของเห็ด หาของป่าพื้นที่ราบมีความราดเอียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยและทำการเกษตร ทำนา ที่ราบนี้ส่วนใหญ่อยู่บริเวณทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน เป็นแหล่งเกษตรกรรมของหมู่บ้าน
 
   
ลักษณะอากาศมีลักษณะร้อนชื้น อากาศเปลี่ยนแปลงไปตามฤดู ซึ่งมี 3 ฤดู ดังนี้

ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม อากาศร้อนและแห้งแล้ง แต่บางครั้งอาจมีอากาศเย็น บ้างครั้งเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง หรืออาจมีลูกเห็บตกก่อให้เกิด
  ความเสียหายแก่ประชาชนทุกปี เรียกว่า “พายุฤดูร้อน” อากาศร้อน จะมีอุณหภูมิระหว่าง 35 – 39.9 องศาเซลเซียส

ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ฝนตกมากในช่วงเดือน พฤษภาคม - ตุลาคม แต่อาจเกิด "ช่วงฝนทิ้ง" ซึ่งอาจนานประมาณ 1 - 2 สัปดาห์หรือบางปีอาจเกิดขึ้นรุนแรง และมีฝนน้อยนานนับเดือน แต่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไม่เคยเกิดอุทกภัยรุนแรง มีฝนตกเฉลี่ยประมาณ 32 มิลลิเมตร

ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในช่วงกลางเดือนตุลาคมนานราว 1-2 สัปดาห์ เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว อากาศแปรปรวนไม่แน่นอน อาจเริ่มมีอากาศเย็นหรืออาจยังมีฝนฟ้าคะนอง
 
   
การเกษตร ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังหลวง ร้อยละ 33.37 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง ดังนี้

อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 33.37 ของจำนวนประชากรทั้งหมด

อาชีพรับราชการ ร้อยละ 5.96 ของจำนวนประชากรทั้งหมด

อาชีพพนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 0.24 ของจำนวนประชากรทั้งหมด

อาชีพพนักงานบริษัท ร้อยละ 0.29 ของจำนวนประชากรทั้งหมด

อาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 23.12 ของจำนวนประชากรทั้งหมด

อาชีพค้าขาย ร้อยละ 5.91 ของจำนวนประชากรทั้งหมด

อาชีพธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 3.81 ของจำนวนประชากรทั้งหมด

อาชีพอื่น ร้อยละ 3.43 ของจำนวนประชากรทั้งหมด

กำลังศึกษา ร้อยละ 16.97 ของจำนวนประชากรทั้งหมด

ไม่มีอาชีพ ร้อยละ 6.91 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
การประมง

ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล มีการประมงน้ำจืด จำนวน 2 ครัวเรือน
การปศุศัตว์

เป็นการประกอบการในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือนเป็นอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงไก่ เป็ด โค สุกร กระบือ
 
 
     
จำนวนประชากรทั้งหมด 2,415 คน แยกเป็น

ชาย  จำนวน 1,141 คน คิดเป็นร้อยละ 47.25

หญิง จำนวน 1,274 คน คิดเป็นร้อยละ 52.75
ความหนาแน่นเฉลี่ย 178.89 คน/ตารางกิโลเมตร
 
 
 
หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน
จำนวนประชากร
ชาย หญิง รวม
  1   บ้านวังหลวง 155 192 347  
2   บ้านวังหลวง 241 280 521
  3   บ้านวังหลวง 254 269 523  
4   บ้านวังหลวง 223 231 454
  5   บ้านวังหลวง 268 302 570  
    รวม 1,141 1,274 2,415
 

 
 
 
 
   
 
 
รับเรื่องร้องเรียน
โทร : 054-647-411